3001-2001 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ
หน่วยที่ 4 การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word
ใบงานที่ 4.1 เรื่องการจัดรูปแบบการพิมพ์เอกสาร
ใบงานที่ 4.2 เรื่องการจัดรูปแบบการพิมพ์เอกสารให้ข้อความชิดซ้าย
ใบงานที่ 4.3 เรื่องการจัดระยะข้อความตัวเลขให้ทศนิยมตรงกัน
ใบงานที่ 4.4 เรื่องการแทรกสัญลักษณ์พิเศษ
ใบงานที่ 4.5 การจัดรูปแบบลำดับตัวนำสายตาและลำดับเลขที่
ใบงานที่ 4.6 การสร้างกรอบข้อความ การแทรกรูปภาพ และอักษรศิลป์
ใบงานที่ 4.7 เรื่องการจัดระยะข้อความและสร้างกรอบข้อความ ใบงานที่ 4.8 เรื่องการจัดรูปแบบเอกสารเป็นคอลัมน์ ใบงานที่ 4.9 การเลือกใช้เครื่องมือวาดภาพ ใบงานที่ 4.10 เรื่องการสร้างตาราง
ใบงานที่ 4.3 เรื่องการจัดระยะข้อความตัวเลขให้ทศนิยมตรงกัน
ใบงานที่ 4.4 เรื่องการแทรกสัญลักษณ์พิเศษ
ใบงานที่ 4.5 การจัดรูปแบบลำดับตัวนำสายตาและลำดับเลขที่
ใบงานที่ 4.6 การสร้างกรอบข้อความ การแทรกรูปภาพ และอักษรศิลป์
ใบงานที่ 4.7 เรื่องการจัดระยะข้อความและสร้างกรอบข้อความ ใบงานที่ 4.8 เรื่องการจัดรูปแบบเอกสารเป็นคอลัมน์ ใบงานที่ 4.9 การเลือกใช้เครื่องมือวาดภาพ ใบงานที่ 4.10 เรื่องการสร้างตาราง
หน่วยที่3 เรื่องการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1.ประวัติของการเกิดอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้
อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้
2.จุดเริ่มต้นอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง
3.คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
เนื่องจากอินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กจำนวนมากเข้าด้วยกัน เมื่อมีระบบเครือข่ายเกิดขึ้น มันทำให้เราสามารถสื่อสารกับผู้อื่นผ่านทางระบบเครือข่ายได้ ทั้งกับคนสนิทและบุคคลทั่วไป ซึ่งการที่เราติดต่อสื่อสารกันได้เช่นนี้ ก็เปรียบเสมือนเรากำลังอยู่ในสังคมแห่งใหม่ที่เรียกว่า สังคมในโลกอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยในการที่เราจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข นั่นก็คือ มารยาทและกฎกติกาของสังคม นึกง่ายๆ ว่า ถ้าเกิดประเทศเราไม่มีกฎหมายในการจัดการบ้านเมือง เช่น กฎจราจร ผู้คนคงขับรถกันตามใจชอบ และต่อให้ขับรถชนคนอื่นก็จะไม่มีการถูกลงโทษใดๆ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน
ดังนั้น ในยุคปัจจุบันที่เราแทบทุกคนต่างมีสังคมอีกแห่งหนึ่งอย่าง สังคมในโลกอินเทอร์เน็ต เราจึงจำเป็นจะต้องรู้จักกฎ กติกา และมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต หรือเราควรจะมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นการให้เกียรติและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
สำหรับคุณธรรมและจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่ควรมี มีทั้งหมด 6 อย่าง ดังนี้
1. ใช้ถ้อยคำสุภาพ
การที่เราจะสื่อสารกับใครสักคนบนโลกอินเทอร์เน็ต เราต้องคำนึงเสมอว่า คนที่เราจะสื่อสารด้วยเป็นใคร ถึงแม้ว่าเราจะไม่เห็นหน้าของคู่สื่อสาร แต่เราต้องคำนึงไว้ก่อนว่าเขามีตัวตน มีความรู้สึก
2. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาทที่แต่ละเว็บไซต์กำหนด
แต่ละเว็บไซต์จะมีการกำหนดกฎ กติกา และมารยาทในการใช้เว็บไซต์ เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้เว็บไซต์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เช่น เว็บไซต์ YouTube มีการกำหนดว่า หากผู้ใดต้องการอัปโหลดวิดีโอ เนื้อหาในวิดีโอนั้นจะต้องไม่มีเนื้อหาที่สื่อถึงความลามกหรืออนาจาร เป็นต้น
3. ให้เครดิตแหล่งที่มาข้อมูลเสมอ เมื่อมีการนำข้อมูลผู้อื่นมาใช้
เมื่อเรามีการนำข้อมูลของคนอื่นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ เสียง หรือวิดีโอต่างๆ เราต้องให้แหล่งที่มาของข้อมูลนั้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและไม่ละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล หากเรานำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ให้แหล่งที่มา เราอาจจะถูกฟ้องร้องเพราะไปขโมยข้อมูลของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตได้
4. ไม่แชร์ข้อมูลผิดๆ หรือภาพที่ไม่เหมาะสม
การแชร์ข้อมูลผิดๆ หรือภาพที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เช่น ภาพศพที่ไม่มีการเซ็นเซอร์ ภาพอนาจาร หรือการแชร์ข้อมูลการรักษาโรคแบบผิดๆ การที่เราแชร์สิ่งเหล่านี้ออกไป ไม่ว่าจะด้วยความสนุกหรืออะไรก็ตาม หากเราแชร์ไปโดยที่ไม่คิดไตร่ตรองให้ดี ก็จะทำให้คนอื่นๆ ที่มาเห็นข้อมูลเหล่านี้เข้าใจผิดหรือรู้สึกไม่ดีได้ รวมถึงอาจเป็นการละเมิดสิทธิของคนอื่นอีกด้วย
5. ไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น
เวลาที่เรามาเจอเพื่อนๆ ที่โรงเรียน เราคงเคยบอกว่าเพื่อนคนไหนน่ารำคาญจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น เพื่อนพูดมาก เพื่อนขี้บ่น หรือเพื่อนชอบเซ้าซี้ขอให้เราทำอะไรสักอย่างให้ไม่ยอมหยุด
ส่วนในโลกอินเทอร์เน็ต การสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่นก็ไม่ได้แตกต่างไปมากนัก ยกตัวอย่างเช่น การสแปมข้อความซ้ำๆ การส่งจดหมายลูกโซ่ หรือการส่งคำเชิญเล่นเกมไปให้คนอื่นบ่อยจนเกินไป
6. ไม่ละเมิดสิทธิและไม่กลั่นแกล้งผู้อื่น
ปัจจุบันการละเมิดสิทธิและกลั่นแกล้งผู้อื่นบนโลกอินเทอร์เน็ตมีเยอะมาก เช่น การแอบถ่ายรูปคนอื่นโดยที่เจ้าตัวไม่ได้อนุญาต แล้วนำรูปแอบถ่ายไปอัปขึ้น Facebook พร้อมวิจารณ์เขาเสียๆ หายๆ หรือการไปโพสต์แสดงความคิดเห็นด้วยคำหยาบคาย ด่าทอผู้อื่นแบบไม่มีเหตุผล (ภาษาง่ายๆ ที่เราเรียกกัน คือ “พวกนักเลงคีย์บอร์ด”) เป็นต้น
4.วิธีการเข้าถึงและสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. กําหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น
ผู้สืบค้นหรือผู้วิจัยที่จะนําข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นที่ชัดเจน ทําให้
สามารถกําหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่จะสืบค้นให้แคบลง กําหนดประเภทของเครื่องมือหรือโปรแกรมสําหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Search Engine ให้เหมาะสม กําหนดช่วงเวลาที่ข้อมูลสารสนเทศถูกสร้างขึ้น เช่น ช่วงปีที่ตีพิมพ์ของวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้เพื่อให้ผลการสืบค้นมีปริมาณไม่มากเกินไป มีความตรง (Validity) ตามวัตถุประสงค์ และมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มากที่สุดอีกทั้งยังสามารถสืบค้นได้ผลในเวลาอันรวดเร็ว
2. ประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้
ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภท มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือ
มีทั้งที่เป็นข้อความ(Text) ภาพวาด (Painting) ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing) ภาพไดอะแกรม (Diagram) ภาพถ่าย (Photograph) เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น เสียงดนตรี (Midi) ภาพยนตร์ (Movie) ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation)
จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สําหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาพ (Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจํากัดอยู่มาก ใช้เวลานาน และยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในการให้บริการการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ต
3. การสืบค้นต้องอาศัยอุปกรณ์และความรู้
ก่อนที่ผู้สืบค้นจะสามารถสืบค้นข้อ มูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตได้ ต้องมีการจั ดเตรียม
อุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจเป็น Modem ในกรณีที่ใช้คู่กับสายโทรศัพท์ หรือแผ่น LAN Card ในกรณีที่ใช้คู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการติดตั้งไว้แล้ว ซอฟต์แวร์การสื่อสาร (Communication Software) เช่น Dial-up Networking ในกรณีใช้ Modem หรือมีการติดตั้ง Network Protocol ที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งอยู่และติดตั้ง Network Adapter ที่เหมาะสมสําหรับ LAN Card นั้นๆ ต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์การหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อเป็นช่องทางออกสู่อินเทอร์เน็ต
นอกจากอุปกรณ์ต่ า งๆ ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น แล้ ว ยั ง ต้ อ งมี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะพื้ น ฐานในการใช้ ง านคอมพิ ว เตอร์ ( Computer Literacy) ความรู้ภาษาอังกฤษเนื่องจากข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยังต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
4. บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีมากมายหลายบริการ
เช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ Word-Wide-Web(WWW) บริการค้นหาข้อมูล Gopher บริการการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย ค้นหาโปรแกรมใช้งาน Archie นอกจากนี้ อาจใช้บริการสอบถามผ่านทาง E-mail หรือ Chat กับผู้ใช้งาน
อินเทอร์เน็ตอื่นๆ หรือสอบถามผ่าน News Group หรือ Group/Thread Discussion ก็ได้
เมื่อค้นได้แหล่ ง ข้ อ มู ล แล้ ว อาจ download หรื อ ถ่ า ยโอนข้ อ มู ล ที่ สื บ ค้ น ได้ โ ดยใช้ บ ริ ก ารถ่ า ยโอนไฟล์ ข้ อ มู ล และโปรแกรม (File Transfer Protocol หรือ FTP)
โดยทั่วไปในปัจจุบัน การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต นิยมใช้โปรแกรม Web
Browsers เช่น Internet Explorer หรือ Netscape แล้วเรียกใช้บริการ www ประกอบกับการใช้ Search Engine ซึ่งมีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ตในการสืบค้น เมื่อสืบค้นได้แล้ว โปรแกรม Web Browsers มักจะมีบริการ Download ได้ทนทีโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นๆเข้าช่วย
5. เครื่องมือหรือโปรแกรมสําหรับการสืบค้น
เครื่องมือหรือโปรแกรมสําหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการ
อยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูล
สารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ ไม่เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง
5.ตัวอย่าง Wed Search Engine
การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine
เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
ตัวอย่าง Web Search Engine
1. http://www.google.co.th/
2. http://www.youtube.com/
3. http://dict.longdo.com
การสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
6.ความสำคัญของการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ
ระบบค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval System หรือ IR) เป็นระบบที่จัดการและประมวลผลสารสนเทศประเภทเอกสาร (Document) ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร บทความ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเก็บบันทึก การดึงเอกสาร และการแสดงรูปแบบ โดยใช้ลักษณะเด่นของเนื้อหาของเอกสารเป็นหลักในการค้นหาและดึงเอาเอกสารที่ต้องการออกมา โดยแยกแยะความเกี่ยวข้อง (Relevant) และความไม่เกี่ยวข้อง (Non-relevant) เช่น Yahoo, Google, MSN
เป็นกระบวนการทั้งการคัดเลือก ควบคุม โครงสร้าง สารสนเทศ การจัดหา การจัดเก็บสารสนเทศ เพื่อการเข้าถึง และกระบวนการสำคัญใดๆ ในการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าเรื่องเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะจากแหล่งต่างๆ ทั้งแหล่งจัดเก็บภายใน และภายนอกการจัดเก็บและค้นคืนเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศ หรือรายการทรัพยากรสารสนเทศซึ่งบรรจุเนื้อหาตรงตามต้องการ และในการบริการจะนำส่งให้ผู้ใช้อย่างรวดเร็วทันการณ์ทั้งนี้การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศเป็นระบบที่จัดทำด้วยแรงงานคนและคอมพิมเตอร์การจัดเก็บและการค้นคืนคือการทำสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆนำมาจัดเก็บให้เกิดเป็นระบบการจัดเก็บขึ้นมา และสามารถนำมาใช้งานสืบค้นได้อย่างทันเวลา และค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)